ว่าที่วิศวกรฟังทางนี้…5 แนว PAT3 ที่ไม่มีในหลักสูตรแต่ออกบ่อยมาก!!!!
1. การปรับปรุงตัวประกอบกำลัง
เริ่มจากการเข้าใจว่าสูตรของกำลัง
P = I V (cos A) เมื่อ A คือ มุมระหว่าง V กับ I
ซึ่งหน่วยของ
P คือ
KW หน่วยของ R คือ
KVAR และหน่วยของ Q คือ KVA
P + R = Q (บวกกันได้แบบสามเหลี่ยมปีทากอรัสเลย)
การปรับปรุงตัวประกอบกำลัง คือ การเปลี่ยน cos A ซึ่งคือมุมระหว่าง
V กับ I สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ
ถ้า cos A เข้าใกล้ 1 แสดงว่ามุมระหว่าง
V กับ I มีค่าน้อย
ถ้ามุมระหว่าง V
กับ I น้อย
(cos A ยิ่งใกล้ 1 แสดงว่ากำลังสูญเสียจะน้อย)
การทำให้ cos A ลดลง
ทำได้โดยการต่อตัวเก็บประจุเข้าไป สิ่งนี้ทำให้ส่วนจินตภาพ (R) ลดลง
เมื่อส่วนจินตภาพ (R) ลดลง มุมระหว่าง P กับ Q ก็จะลดลง
2.3
2. เขียนแบบวิศวกรรม
เป็นเรื่องที่มีการออกข้อสอบทุกปี
ปีละประมาณ 5 ข้อ
โดยสิ่งที่น้องๆต้องทำได้คือ
1. การแปลงรูป
3 มิติ ให้กลายเป็น 2 มิติในมุมมองต่างๆ
เช่นมุมมองด้านบน ด้านข้าง หรือด้านหน้า
2. การแปลงรูปจาก
2 มิติกลับไปเป็น 3 มิติ
3. รู้ความแตกต่างของเส้นตรงและเส้นประ
4. เข้าใจสัญลักษณ์การย่อขยายอัตราส่วนเช่น
5:1 คือการขยาย และ 1:3 คือการย่อ
2.4
3. ไฟฟ้า 3 เฟส
เรื่องนี้จะเรียนในวิชา
Electrical Engineering (ปี 3) แต่มาออกในข้อสอบ PAT3 เฉยเลย 55555
เรื่องนี้จะถามความต่างศักย์และหว่างสายเส้นต่างๆ
ซึ่งสามารถดูได้ตามรูปเลยครับ
2.5
4. ข่าวสารรอบโลก
น้องควรติดตามข่าวสารวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นประมาณ
1 หรือ 2 ปีที่ผ่านมา
โดยเน้นไปที่ข่าวเด่นๆรอบโลก และข่าวที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย
ซึ่งสามารถหาได้ง่ายๆโดย Search สรุปความเคลื่อนไหวข่าววิทยาศาสตร์ใน
Internet หรือถามคนรอบข้างก็ได้
5. Engineering Sense
เรื่องนี้คงพูดยาก
Sense of Engineer บางทีก็ถามเรื่องที่เราไม่คิดว่าจะถาม
เช่น ปีล่าสุด ถามเรื่องการเชื่อม ซึ่งอยู่ในวิชา Manufacturing
System ส่วนนี้ถ้าเราจะเตรียมได้มากที่สุด
คือ การสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานวิศวกรรมและทำข้อสอบเก่าเยอะๆ