ความน่าจะเป็น
การหาค่าสูงสุด-ต่ำสุด
15 จุดผิด ชีววิทยา part 3/3
13. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฎจักร VS การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฎจักร เรื่องนี้นอกจากเข้าใจกระบวนการแล้วขอให้จำเป็นส่วนย่อยๆ ไปอีกด้วย เช่น ที่มาของอิเล็กตรอน สารพลังงานสูงที่ได้ ตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย
14. ความเหมือนและความแตกต่างของพืช C3 C4 และ CAM อย่างแรกควรรู้ชนิดพืชแต่ละประเภทเพราะบางทีโจทย์จะออกชื่อพืช โดยไม่ได้ระบุประเภท เพราะฉะนั้น หากไม่รู้ อาจจะ blank ไปเลย นอกจากนี้ควรจำ bundle-sheath cell จำนวนครั้งในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ เซลล์ที่เกิด Calvin cycle และการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ (ทั้งผลิตภัณฑ์และเอมไซม์)
15. การคำนวณในชีวะ! ไม่อยากจะเชื่อว่าเราไม่สามารถหลุดพ้นจากคณิตศาสตร์ไปได้จริงๆ เช่น ในบทพันธุศาสตร์ เรื่องกฎการแยกและการคูณ หรือสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก การถอดรูท ยกกำลัง ดังนั้นหลักการแม่นแล้ว อย่าคำนวณพลาดนะ
การไหลเวียนของเลือดในหัวใจ
มาลองศึกษาดู”ใจ”กันเถอะ!
ข้อสอบออกบ่อยมากๆ เรื่องการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ อ่านไว้และจำให้ไวเลยครับ
?เลือดดำจากหลอดเลือดดำใหญ่ superior vena cava (เลือดดำจากอวัยวะซีกบน) และ inferior vena cava (เลือดดำจากอวัยวะซีกล่าง) จะเข้าสู่ Right atrium > tricuspid valve > Right ventricle > Pulmonary artery (มีออกซิเจนต่ำแต่มี pulmonary semilunar valve เพราะต้องสูบฉีดเลือดดำ) > ปอด > เลือดแดงที่ฟอกจากปอด จะเข้าสู่ Left atrium ผ่าน Pulmonary vein (มีออกซิเจนสูง) > bicuspid valve > Left ventricle บีบตัวส่งเลือดแดงไปเลี้ยงร่างกาย โดยผ่านเส้นเลือด
การเคลื่อนที่ของสาร
1. exocytosis = ปล่อยสารออกนอกเซลล์ โดยการหลอมรวมของเยื่อหุ้ม vesicle กับเยื่อหุ้มเซลล์เช่น การหลั่งเอนไซม์ antibody , การส่งสารสื่อประสาทออกนอกแอกซอนของเซลล์ประสาทบริเวณไซแนปส์
2. endocytosis เป็นการลำเลียงสารภายนอกเข้ามาภายในเซลล์ แบ่งออกเป็น 3 แบบ
2.1 phagocytosis = ยื่นเท้าเทียม (pseudopodium) โอบล้อมของแข็ง เช่น การเขมือบเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาว การกินอาหารของโพรโทซัวบางชนิด
2.2 pinocytosis = การเว้าของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นร่องเพื่อให้ของเหลวหลุดเข้าไป เช่น การดูดซึมไขมันที่ลำไส้เล็ก การแลกเปลี่ยนสารบริเวณหลอดเลือดฝอย
2.3 receptor-mediated endocytosis = จับกับโปรตีนตัวรับจำเพาะที่เยื่อหุ้มเซลล์เพื่อพาสารเข้าไปภายใน เช่น การนำ cholesterol เข้าเซลล์
ตัวแปรในการทดลอง
ในขั้นของการตรวจสอบสมมุติฐานจะต้องมีการตั้งตัวแปรเกิดขึ้นเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานที่เราได้ตั้งไว้ในขั้นก่อนหน้า ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของ “ตัวแปร” กัน
ตัวแปรต้น (ตัวแปรอิสระ) คือ ตัวแปรที่กำหนดให้ต่างกันเพื่อทดสอบสมมุติฐาน
ตัวแปรตาม คือ ผลของตัวแปรต้น
ตัวแปรควบคุม คือ ตัวแปรที่อาจส่งผลทำให้การทดลองของเราคลาดเคลื่อน ดังนั้นเราจึงต้องจัดให้ตัวแปรนี้เหมือนกันในทุกกรณีเพื่อไม่ให้กระทบต่อผลการทดลอง
จากในรูปข้างต้น
วุ้นอาหาร = ตัวแปรต้น เพราะเราอยากรู้ว่าหากให้วุ้นอาหารที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หรือไม่
การเติบโตของจุลินทรีย์ = ตัวแปรตาม เพราะการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เป็นผลมาจากวุ้นอาหารที่แตกต่างกัน
สภาพแวดล้อม (ห้องแล็ป) = ตัวแปรควบคุม เนื่องจากสภาพแวดล้อมนี้เราสามารถกำหนดได้เช่น อุณหภูมิ แสง ความชื้น
ข้อต่อ
ข้อต่อ..เป็นเรื่องที่น่าจำเพราะข้อสอบมักจะถามตรงๆ ถ้าจำได้ก็ตอบได้สิ!
ข้อต่อ..มีทั้งหมด 6 รูปแบบหลักๆ คือ
1. ลูกกลมในเบ้ากระดูก (ball and socket)
พบที่ไหน? หัวไหล่ โคนขา ทำให้สามารถเหวี่ยงแขนหรือขาได้ 360 องศา
2.วงรี (condyloid)
พบที่ไหน? ข้อต่อระหว่างกระดูก radius (กระดูกปลายแขนท่อนนอก) และ carpal (กระดูกข้อมือ) จำกัดการเคลื่อนไหวด้านใดด้านหนึ่ง
3.เลื่อนหรือสไลด์ (gliding)
พบที่ไหน? ข้อมือ เท้า หัวเข่า
4.บานพับ (hinge)
พบที่ไหน? ข้อศอก นิ้วมือ ทำให้เคลื่อนไหวคล้ายการเปิดปิดบานพับประตู
5.เดือย (pivot)
พบที่ไหน? ระหว่างต้นคอกับฐานของกะโหลกศีรษะ
6.อานม้า (saddle) พบที่ไหน? ระหว่างกระดูกนิ้วมือกับฝ่ามือ ทำให้เคลื่อนไหวหรืองอนิ้วมือได้
การเคลื่อนที่ของสาร
เรื่องพื้นฐานอีกเรื่องของชีวะที่น้องๆ
ควรรู้ คือการเคลื่อนที่ของสาร คำว่า ออสโมซิส เชื่อว่าน้องๆ
หลายคนคงเคยได้ยินแต่อาจจะยังสับสน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับออสโมซิสกัน!
osmosis คือ การแพร่ของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน โดยมีทิศทางการแพร่คือ
จากที่มีน้ำมากไปที่มีน้ำน้อย (จากเจือจางไปเข้มข้น)
3 คำศัพท์น่ารู้
Isotonic solution เซลล์อยู่ในสารละลายที่มีความเข้มข้น”เท่ากับ”ความเข้มข้นในเซลล์ > ไม่เกิดอะไรขึ้น
Hypotonic solution (น้ำเข้า>แตก!) เซลล์อยู่ในสารละลายที่
“เจือจาง”กว่า น้ำออสโมซิสเข้า เกิดแรงดันเต่ง > เซลล์สัตว์จะแตก ? เซลล์พืชจะอวบ ?
Hypertonic solution (น้ำออก>เหี่ยว) เซลล์อยู่ในสารละลายที่”เข้มข้น”กว่า น้ำออสโมซิสออกจากเซลล์ > เซลล์จะเหี่ยว ??
กล้องจุลทรรศน์
บทกล้องจุลทรรศน์ อย่าคิดว่ามีแต่คำนวณเพราะจริงๆ แล้วบทนี้ในส่วนของบรรยายก็ออกข้อสอบ ซึ่งถ้ารู้จะสามารถทำข้อสอบข้อนั้นได้สบายๆ แล้วสิ่งที่ควรรู้คืออะไรหล่ะ?
กล้องจุลทรรศน์ 4 ประเภทที่ออกสอบ!
กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (light microscope) ใช้แสงขาวและเลนส์แก้ว ได้ภาพเสมือนหัวกลับ
1.ใช้แสงแบบธรรมดา (compound light) – ศึกษาโครงสร้างง่ายๆ
2.ใช้แสงแบบสเตอริโอ (stereoscopic) – ส่องได้ทั้งวัตถุโปร่งแสงและทึบแสง มองเห็นภาพ 3 มิติ เหมาะกับการส่องวัตถุที่ตาเปล่ามองเห็นแต่อยากเห็นรายละเอียด
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope) ใช้ลำแสงอิเล็กตรอนและเลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า กำลังขยายสูงกว่า
1.ส่องกราด (scanning electron) – ศึกษาโครงสร้าง 3 มิติ , ศึกษาพื้นผิว
2.ส่องผ่าน (transmission electron) – ศึกษาโครงสร้าง 2 มิติ , ศึกษาองค์ประกอบภายในเซลล์
ขอแนะนำอีก 1 วิธีการจำเนื้อหา คือ ใช้จำเป็นภาพแทนตัวอักษรก็ได้นะคะ
เม็ดเลือดขาว
สาระน่ารู้!!!!!
เซลล์เม็ดเลือดขาวแบ่งออกเป็น
2 กลุ่ม
1.แกรนูโลไซต์
(granulocyte) มีแกรนูลที่ย้อมติดสีได้
2.อะแกรนูโลไซต์
(agranulocyte) มีแกรนูลแต่ “ไม่สามารถย้อมติดสีได้”
ระบบย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง!!!!
หลอดอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องประกอบไปด้วย 3 ส่วน
1.rumen ส่วนนี้จะมีแบคทีเรียนและโปรโทซัวอาศัยอยู่ โดยมีความสัมพันธ์แบบ mutualism ซึ่งจะช่วยสร้างกรดอะมิโน กรดไขมัน วิตามิน B12 และเอนไซม์ cellulase ย่อย cellulose
2.reticulum และ 3.omasum ช่วยบดและผสมอาหาร
ส่วน abomasum คือ กระเพาะอาหารที่แท้จริง สามารถสร้างน้ำย่อยได้