ทำไมซิ่วถึงยากกว่าสอบครั้งแรก?

หลายๆคนคงคิดว่าถ้าปีนี้สอบไม่ติด ปีหน้าเราก็แค่ซิ่ว เพราะว่าเราตั้งใจอยากเข้าคณะนั้นจริงๆ วันนี้แอดมินอยากมาแชร์มุมมองหนึ่งว่าการซิ่วไม่ได้ง่ายแบบนั้น

การที่เราไม่ฟิตวันนี้ ถ้าคะแนนออกมาแล้วเราขาดไป 0.1 คะแนนจะติดมันไม่ใช่ว่าปีหน้าเราทำเพิ่มอีกแค่ 0.1 นะมันคือเราต้องเริ่มต้นทั้งหมดใหม่จาก 0 คะแนน ความฟิต สังคม และ ปัจจัยภายนอกอื่นๆมันอาจนำพาให้เราไม่ได้ตั้งใจเท่าปีนี้ก็ได้ อย่างน้อยก็มีความรู้สึกที่ว่าปีที่ซิ่วตัวเองจะพลาดไม่ได้แล้ว ความคาดหวังเพิ่มขึ้นวินัยก็ต้องเพิ่มขึ้นเพราะเรามีเวลามากกว่าคนอื่นแล้ว ความกดดันก็เลยเพิ่มขึ้นด้วยพี่อยากฝากไว้สำหรับน้องๆ ที่จะสอบในปีนี้ ซิ่วไม่ใช่เรื่องง่ายการที่น้องฟิตเพิ่มขึ้นแม้วันละเล็กน้อยตั้งแต่ตอนนี้มันคุ้มค่ากว่าการที่น้องจะต้องรอเริ่มต้นใหม่อย่างแน่นอน สำหรับน้องๆ ที่ซิ่วอยู่พี่เชื่อว่าคนที่คิดจะซิ่วมาจนถึงเตอนนี้แล้วไม่ล้มเลิกไปก่อน แสดงว่าน้องจะเอาจริงแล้ว

ถ้าเราคิดว่าปีนี้จะเอาจริงแล้ว ก็เอาให้มันสุดๆ ไปเลย!

สอบติดว่ายากแล้ว สอบติดคณะที่อยากเรียนยากกว่าเยอะ

?น้องๆ หลายๆ คนคงคิดว่าแค่สอบติดก็พอแล้วแต่ความจริงแล้ว การสอบติด มันไม่ยากหรอก แต่ที่ยากจริงๆคือการสอบติดคณะที่อยากเรียน เพราะฉะนั้นการวางแผนให้ดีตั้งแต่ต้นจะทำให้เราได้เปรียบคนอื่นมากๆ ตัวอย่าง เช่น ถ้าเราอยากเข้าวิศวะ จุฬาฯ ซึ่งใช้ GAT PAT1 และ PAT3 ควรใช้เวลากับฟิสิกส์คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษมากที่สุด แต่พี่เห็นน้องๆหลายๆ คนที่มาถาม พยายามให้เวลากับวิชาเคมีมากๆ ทั้งๆ ที่ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษยังอ่านไม่จบ

?สิ่งแรกที่น้องควรทำ คือ “การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าอยากเข้าคณะอะไร มหาลัยไหน” ที่ต้องระบุทั้งคณะและมหาลัย เพราะว่าบางทีคณะเดียวกัน แต่คนละมหาลัยก็ใช้การสอบเข้าคนละแบบ การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนจึงสำคัญมากๆ ซึ่งเดือนกันยายนแล้ว สำหรับน้องๆ ม.6 ควรมีเป้าหมายที่แน่นอน และอ่านหนังสือหนักๆได้แล้วนะ

?สิ่งต่อมาที่น้องควรทำ คือ “การหาข้อมูลให้แน่นอน”ว่าคณะที่ตัวเองอยากเข้าต้องสอบอะไรบ้าง และโครงสร้างของข้อสอบของคณะนั้นๆ ประกอบด้วยอะไรบ้าง ควรเน้นตรงไหน ตรงไหนไม่ต้องเน้นมากเพราะมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ที่เราจะทำทุกส่วนได้ดีทั้งหมด การ “focus” กับเป้าหมายของตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ

?สุดท้าย คือ “ลงมือทำ”อันนี้ก็ขึ้นกับแต่ละคนแล้วล่ะ ว่าจะทำให้เป้าหมายของตนเองเป็นจริงได้มั้ยพี่ๆ ขอเป็นกำลังใจให้ในการเตรียมสอบของทุกคนน้องๆสามารถหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการสอบได้ที่เพจ รู้จุดอ่อน ก่อนent พี่ๆ ทีมงานจะพยายามหา content ดีๆ ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ มาลงเรื่อยๆ นะครับ

The loop of success

3 ขั้นตอนในการพิชิตการสอบทุกสนาม

?ช่วงนี้ก็ใกล้สอบปลายภาคกันแล้วไม่รู้ว่าเราได้เริ่มอ่านหนังสือกันหรือยัง เชื่อว่าน้องๆหลายคนคงคิดในใจว่ายังไม่ได้แตะเลย และไม่ได้แตะมาตั้งแต่ต้นเทอมแล้วนี่เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง…วันนี้พี่ๆ จึงอยากเสนอ The loop of success ซึ่งเป็น 3 ขั้นตอนในการเตรียมตัวสอบใดๆ ก็ตาม โดยขั้นตอนมีดังนี้

? 1. เข้าใจ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจจริงๆ โดยเฉพาะวิชาสายวิทย์ที่ใช้การจำอย่างเดียวไม่ได้จริงๆ เราต้องรู้ที่มาที่ไปของเรื่องต่างๆ ขั้นตอนนี้ถึงว่าสำคัญที่สุดในการจะเริ่มต้นเรียนเรื่องต่างๆ คำถามคือ พี่!ผมจะเข้าใจได้ยังไง มีเทคนิคมั้ย พี่เลยจะบอกว่า บางทีวิธีการของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นวิธีของพี่ จะเริ่มต้นจากการค่อยๆ อ่านทั้งเนื้อหาและตัวอย่าง แล้วก็กลับมาอ่านซ้ำหลังผ่านไปหลายๆ วันถ้าเรายังงงในจุดเดิมๆ แสดงว่าเราไม่เข้าใจจริงๆ ละ เราก็ต้องกลับมาอ่านส่วนนั้นๆ ใหม่และถ้ายังไม่เข้าใจจริงๆ พี่จะขอให้เพื่อนๆ ช่วยเชื่อว่าเพื่อนที่เก่งจริงๆ ไม่มีใครงกความรู้หรอก คนที่ทั้งเก่งและพูดรู้เรื่องนี่พี่ว่ามีอยู่เยอะนะ ถ้าเราไม่รู้ ก็แค่ไม่ต้องอายที่จะถาม

? 2.จำน้องบางคนอาจบอกว่า พี่! วิชาคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ ผมเข้าใจอย่างเดียวก็พอแล้ว จะจำทำไม แต่บางทีหลายๆคน เคยเข้าใจ และก็ลืมสิ่งที่เข้าใจนั้นไปทั้งหมดหลังจากที่เข้าใจมาแล้วไม่กี่วัน!!จะเรียกว่าไม่เคยเข้าใจก็ไม่ได้ เพราะตอนนั้นเราก็เข้าใจแล้วจริงๆ แต่ดันมาลืมไปซะหมดตอนก่อนสอบนี่แหละ พี่จึงอยากจะบอกว่า การที่เข้าใจและจำไปเลยจะเป็นผลดีต่อตัวน้องจริงๆ

? 3.ทำโจทย์หลังจากเข้าใจและจำแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประสบการณ์คือสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เหมือนเราเล่นเกมส์ การเก็บ exp เพื่อให้เลเวลสูงขึ้นก็ต้องมาจากการหาประสบการณ์จริงมั้ยล่ะการทำโจทย์ก็เหมือนกัน จะเป็นการให้เราได้ตกผลึกความรู้และยังช่วยทำให้เราจำได้ดีขึ้นอีกด้วย

สิ่งที่คนอื่นเห็น vs ความเป็นจริง

“ซุ่ม คืออะไร? ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจซุ่มกันแน่?”

ทำไมคนนั้นอยู่ที่โรงเรียนก็ดูเล่นๆ แต่ทำไมสอบมาคะแนนดีตลอด เรื่องจริงที่อาจไม่เคยพูด ตอนที่เราไม่เห็น เค้าอาจจะกำลังพยายามอยู่ก็ได้ จนบางที ชอบเรียกกันว่า “ซุ่ม” จากประสบการณ์ของพี่ หลายคนไม่ได้พยายามซุ่มนะ แค่เค้าไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือแล้ว ถ่ายรูปลง IG หรือ โพสต์ลงเฟสเท่านั้นเอง แต่ถ้าเพื่อนไปถาม คนที่ซุ่ม เค้าจะชอบบอกว่าตัวเองยังไม่อ่าน หรือแบบไม่รู้เรื่องเลยจริงๆ ทั้งๆที่รู้อยู่แล้ว ส่วนคนที่ไม่ได้ตั้งใจซุ่ม จะช่วยเหลือเราอย่างเต็มที่

สิ่งที่อยากบอกคือ แยกคนซุมจริงๆกับคนขยันที่ไม่ได้บอกใครให้ออกนะ และอยากเป็นแบบไหนก็เลือกเอา แต่ที่แน่ๆ จะซุ่มหรือไม่ซุ่ม ถ้าอ่านหนังสือก็ดีกว่าคนที่ไม่อ่านแน่นอน…

ทำไมอ่านหนังสืออย่างเดียวไม่พอ!

ช่วงหลังๆมานี้ ในฐานะติวเตอร์ พี่เห็นน้องๆหลายคนพยายามจะทวนเนื้อหาให้แน่น โดยละเลยการทำโจทย์ให้มากเท่าที่ควร โพสนี้แค่อยากจะเตือนว่าให้น้องๆใส่ใจการทำโจทย์มากขึ้น

คนอ่านอย่างเดียว หรือจะสู้คนอ่านและทำโจทย์ด้วย เพราะประสบการณ์ในการทำโจทย์ จะช่วยให้เราสามารถนำสิ่งที่เรารู้นำมาประยุกต์ใช้และการเจอโจทย์หลากหลายรูปแบบ ทำให้เราเรียนรู้วิธีคิดและการทำ ไม่ไปตื่นเต้นตกใจในห้องสอบ เปรียบเสมือนการติดอาวุธให้ตนเองก่อนสอบ

แอป STUDYPLAN คือ แอปที่ช่วยให้น้องๆฝึกทำโจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าพร้อมแล้ว…โหลดแอปแล้วฝึกทำโจทย์ได้เลย!

อ่านหนังสือไม่ทำโจทย์ vs จำโจทย์ไม่แม่นเนื้อหา

ช่วงนี้มีน้องๆหลายๆคนมาถามว่า พี่ครับ ผมจะโฟกัสที่การจำโจทย์หรืออ่านเนื้อหาแน่นๆก่อนดีครับ ซึ่งเงื่อนไขคือน้องคนนี้เลือกได้เพียงอย่างเดียว เพราะเวลาไม่ทันแล้ว

ส่วนตัวแล้วพี่คิดว่า ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือไม่ทำโจทย์ หรือ จำโจทย์ไม่แม่นเนื้อหา = พังทั้งคู่นะ

ถ้าอ่าหนังสือแต่ไม่ทำโจทย์ วันสอบจริงไม่มีประสบการณ์มากพอ ทำให้อาจจะทำข้อสอบไม่ทัน บางอย่างการอ่านอย่างเดียวไม่ฝึกฝนก็ไม่ทำให้ทำข้อสอบได้
แต่!!
ถ้ายังไม่แม่นเนื้อหาแล้วไปทำโจทย์ล่ะ?
แน่นอนจะต้องมีข้อที่ทำได้ แต่ถ้าข้อที่ไม่เคยเจอมาก่อน ก็จะทำไม่ได้ อาจไม่เห็นผลในระยะสั้นเพราะถ้าเคยเจอก็ทำได้ แต่ในระยะยาวถ้าเจอโจทย์ที่พลิกแพลงเยอะๆ ยังไงการอ่านเนื้อหาก่อนก็ดีกว่า

สุดท้าย แอป STUYDPLAN จะช่วยวางแผนให้น้องๆที่อ่านเนื้อหาแม่นระดับนึงแล้ว ทำโจทย์ได้ก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด ถ้าพร้อมแล้วลองกดหน้า “แผนการอ่าน” แล้วลุยทำโจทย์กันได้เลย!

5 เทคทิค แบ่งเวลาให้สอบติด!

5 เทคทิคแบ่งเวลาให้สอบติด!

1. ตั้งเป้าหมายในแต่ละวันถ้าเป้าหมายระยะยาวของเราคือสอบติด เราควรจะทำอะไรซักนิดในแต่ละวัน เช่นอ่านหนังสือวันละ 1 บท ทำโจทย์วันละ 20 ข้อ เป็นต้นลองนึกดูว่าถ้าทำแบบนี้ 1 ปี เราจะอ่านไป 365 บทเรียน และทำโจทย์ไปแล้ว 7300 ข้อ ลองคิดดูว่าจะเก่งขึ้นขนาดไหน?

2. กำหนดเวลาพักผ่อนให้ชัดเจน ข้อนี้ปัญหาเลย บางทีเราตั้งเป้าหมายแล้วแต่…เวลาพักดันมากเกินไป เราควรกำหนดเวลาพักให้แน่นอนนิดนึงเช่น จะเล่น ROV 1 เกม ถ้าทำโจทย์เสร็จแล้ว 20 ข้อของวันนี้

3. ตื่นเช้า นอนเร็ว อันนี้อาจจะแล้วแต่คนแต่ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเราต้องไปโรงเรียน การนอนดึกบ่อยๆ คงไม่ดีแน่ๆ จากประสบการณ์พวกพี่ๆ ที่ต้องนอนดึกเป็นเพราะวันวันหนึ่งยังไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้…ให้เวลาตัวเองพักบ้างแล้วค่อยลุยใหม่พรุ่งนี้

4. ใช้เศษเวลาให้คุ้ม บางทีเราคงไม่ได้มีเวลา 2 – 3 ชั่วโมงต่อเนื่องในการอ่านหนังสือหรอก ใช้เวลา 15 – 20 นาทีที่ว่างๆ หยิบมันขึ้นมาอ่าน จะจบเร็วขึ้นเยอะเลย

5. กำลังเล่นมือถืออยู่ใช่ไหม??? หยุดแล้วเริ่มต้นข้อ 1 ตั้งเป้าหมายให้ตัวเองได้แล้ววันนี้

3 ขั้นตอนอ่านหนังสือให้ตรงจุด

น้องๆ หลายคนอาจติวมาเยอะอ่านหนังสือมาเยอะ แต่บางทีวิธีการอ่านหนังสือของแต่ละคน อาจไม่มีประสิทธิภาพพอซึ่งกว่าเราจะรู้ว่าทั้งหมดที่เราอ่านมาเรายังไม่รู้เรื่องจริงๆ ก็อาจสายไปเสียแล้ว วันนี้พี่ๆ จึงมีวิธีการแบบใหม่มาเสนอ เพื่อให้น้องๆ อ่านหนังสือให้ตรงจุดที่สุดในเวลาที่สั้นที่สุด!

1. ตั้งเป้าหมาย ตามหลัก C-SMART
ก่อนที่จะเตรียมสอบอะไร อย่าออกเดินทางอย่างไร้จุดหมาย ประเด็นคือเป้าหมายแบบไหนถึงถือเป็นเป้าหมายที่ดีล่ะ วันนี้พี่จะสอนวิธีการตั้งเป้าหมาย ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้กันทั่วโลก เรียกว่า “C-SMART” 
C-SMART ย่อมาจาก
C = Challenge มีความท้าทาย ซึ่งความท้าทายแต่ละคนไม่เท่ากัน
S = Specific เฉพาะเจาะจง เช่น อยากเข้าวิศวะ ก็ระบุมหาลัยในใจไว้ แต่ไม่จำเป็นต้องยึดติด
M = Measurable สามารถวัดได้ ในที่นี้ เป้าหมายคณะที่อยากเข้ามันวัดได้อยู่แล้ว
A = Attainable เป้าหมายสามารถบรรลุได้ ไม่ยากไป ไม่ง่ายไป 
R = Relevant มีความเกี่ยวข้อง เช่น น้องเป็นคนชอบเครื่องกลก็น่าเรียนวิศวะ เครื่องกล มากกว่าคณะอื่นจริงมั้ยล่ะ
T = Time-bound มีระยะเวลาที่จำกัด เช่น ผมจะสอบติดในปีนี้
ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายที่ดีตามหลัก C-SMART เช่น ผมอยากจะเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีนี้ เนื่องจากผมเป็นคนชอบเกี่ยวกับเครื่องจักรมาตั้งแต่เด็ก เป็นตน

2. วิเคราะห์วิธีการอ่านที่เหมาะสมกับคุณ
หลักจากตั้งเป้าหมายแล้ว ถ้าไม่มีแผนทุกอย่างมันจะสะเปะสะปะไปหมดบางทีเราอาจคิดว่าเราเรียนทั้งหมดไปหมดแล้ว อ่านทวนก็หลายรอบแล้ว “เราน่าจะทำได้แหละ” ความไม่แน่ใจแบบนี้แหละที่ทำให้พอไปเจอกับสภาพจริงๆ ในห้องสอบแล้วเราบึ้ม พี่ๆ แนะนำว่าเราควรจะทำโจทย์เพื่อทดสอบตัวเองเยอะๆ จะได้แก้ไขจุดอ่อนทั้งหมดของตัวเองก่อนเข้าสอบจะรู้จุดอ่อนตัวเองยังไงล่ะ? 

3. ลงมือทำทั้งหมดตามแผนที่วางไว้
มีเป้าหมายแล้วมีแผนแล้ว แต่ถ้าไม่ลงมือทำก็จะไม่ได้ผลนะน้อง พี่ๆ อยากให้น้องอ่านเนื้อหาให้แน่นและลองลุยทำโจทย์เยอะๆ แก้จุดอ่อนให้หมด น้องจะได้ไม่บึ้มตอนไปสอบจริงนะขอให้น้องๆ ทุกคนตั้งใจ เพราะนี่ก็เหลือเวลาอีกไม่มากแล้วอึดอีกนิดเดียวคุ้มค่ากับความพยายามแน่นอน

5 เทคนิควิเคราะห์ตนเอง

5 เทคนิควิเคราะห์ตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเตรียมตัวสอบ

1. Morning person vs Night person
การวิเคราะห์ตนเองว่า เราสามารถอ่านหนังสือได้ดีในช่วงกลางวันหรือกลางคืน เช่น ทริคของบางคนคือ นอนเร็วแล้วตื่นตี 5 มาอ่านหนังสือ แต่พอเราลองทำกลับง่วงนอน ในทางกลับกัน เราจะมีสมาธิในการอ่านหนังสือตอนกลางคืน สำหรับน้องๆ ที่เป็น Night person แนะนำให้อ่านช่วงดึกๆ แค่ตอนปิดเทอมเพราะตอนเปิดเทอมยังต้องตื่นเช้าไปเรียนหนังสือ

2. การเรียนรู้แบบไหนที่เหมาะกับตัวเรา 
วิธีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของมนุษย์เรามีหลายหลายแบบ ดังนั้นลองหาวิธีที่เหมาะกับเราดีกว่า โดยสังเกตว่าเราสามารถเข้าใจและจดจำได้ดีด้วยวิธีแบบไหน เช่น พูดและฟังเสียงตัวเองเพื่อการจดจำที่ดีกว่า การเขียนซ้ำ ทำ short note หรือไฮไลท์แบ่งข้อมูลเป็นสี หากเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเองจะทำให้การเรียนรู้ของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. สถานที่ไหน เหมาะสมกับการอ่านหนังสือของเรา 
อ่านหนังสือที่บ้าน จะเงียบทำให้มีสมาธิมากกว่า เพราะบางคนหากอยู่กับเพื่อนจะชวนกันคุย แต่บางคนเลือกที่จะอ่านตามร้านกาแฟเพราะจะได้อ่านกับเพื่อน ช่วยกันคิดช่วยกันติวหนังสือและข้อดีอีกหนึ่งอย่างคือ การทำให้ตนเองคุ้นชินกับสถานที่ที่มีเสียง เพราะเวลาสอบจริง ถึงแม้เราเลือกสนามสอบได้ แต่เราเลือกไม่ได้ว่าในขณะที่สอบนั้น จะมีเสียงอื่นๆ มารบกวนรึป่าว คนที่อ่านในที่เงียบๆ มาตลอด อาจจะรู้สึกว่าเสียงเหล่านั้นมารบกวนมากกว่า

4. วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง
วิเคราะห์ความสามารถของเรา ว่าเราอ่อนบทไหนหรือเราแม่นบทไหนจากการที่เราฝึกทำข้อสอบ และบทไหนที่ออกเยอะและเราควรเก็บ โดยดูจากสถิติการออกข้อสอบ ซึ่งนอกจากวิเคราะห์ตามแต่ละบทแล้ว ควรวิเคราะห์ไปถึงบทย่อยในบทนั้นๆ เราจะได้ฝึกฝนเพิ่มเติมถูกจุด เพื่อที่จะเพิ่มคะแนนของเราในการทำข้อสอบ

5. หาตัวช่วยในการวิเคราะห์ตนเอง
ขอขอบคุณการสนับสนุนจากโครงการ Siam Innovation District: เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม

วิศวะฯ จุฬาฯ มีกี่สาขา?

วันนี้ทีมพี่ๆ จากวิศวะฯ จุฬาฯ จะมาเสนอคลิปวิดิโอแนะนำภาควิชาต่างๆ ซึ่งพี่ทางคณะได้จัดทำขึ้นและเป็นประโยชน์มากๆ

1. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154590452071920/
2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154586300956920/
3. วิศวกรรมอุตสาหการ
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154584776906920/
4. วิศวกรรมแหล่งน้ำ(ป.โท)
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154575026466920/
5. วิศวกรรมเครื่องกล https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154572531551920/
6. วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154569878606920/
7. วิศวกรรมปิโตรเลียม
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154567618901920/
8. วิศวกรรมโยธา
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154565782806920/
9. วิศวกรรมไฟฟ้า
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154553973261920/
10. วิศวกรรมนิวเคลียร์ https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154552008301920/
11. วิศวกรรมสำรวจ
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154549546906920/
12. วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
13. วิศวกรรมเคมี
14. วิศวกรรมเรือ
15. วิศวกรรมยานยนต์

นอกจากนี้ยังมีภาคอินเตอร์อีก 4 ภาค สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://www.ise.eng.chula.ac.th/academics
16. การออกแบบและการผลิตยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
17. วิศวกรรมนาโน(หลักสูตรนานาชาติ)
18. วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร(หลักสูตรนานาชาติ)
19. วิศวกรรมอากาศยาน(หลักสูตรนานาชาติ)

บัญชี จุฬาฯ มีกี่สาขา

1. หลักสูตรปริญญาตรี มีให้เลือกเรียนหลายภาควิชาสำหรับใครที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์ก็ไม่ต้องกังวลเพราะมีหลายภาคที่ไม่ได้ใช้คณิตศาตร์เยอะ แต่อย่างไรก็ตามก็ควรมีพื้นฐานคณิตศาสตร์ เนื่องจากมีวิชาบังคับที่ต้องเรียนอยู่ 
2. คณะนี้ยังมีภาควิชาที่น่าจะสนใจหลายๆภาค เช่น การตลาด (Marketing) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ(Information Technology for Business) และ ประกันภัย (Insurance) 
3. บริษัทจำลอง CBA เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม HOT HIT ที่ไม่ควรพลาด โดยโครงการนี้เป็นโครงการฝึกงานนิสิตในรูปแบบการดำเนินธุรกิจจริงซึ่งเราจะได้ลองขาย ลองทำการตลาดและส่วนอื่นๆ จริง มีค่าขนมเล็กๆ น้อยๆ ให้ด้วยนะถือเป็นโอกาสที่ดีมากๆ ที่จะได้ลองเรียนรู้งานและใช้เวลาปิดเทอมให้เป็นประโยชน์
4. คณะนี้ยังมีภาคอินเตอร์หรือที่เรียกว่าBBA ซึ่งพอน้องๆ ขึ้นปี 3 จะสามารถไปเรียนแลกเปลี่ยนต่างประเทศได้โดยสามารถแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยที่มีคู่กับสัญญากับทางจุฬาฯในต่างประเทศทั่วโลก เช่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่นเกาหลี 
5. เนื่องด้วยคณะนี้มีจำนวนนิสิตเยอะมากๆทำให้มีการแบ่งกรุ๊ป เป็นโต๊ะทำให้ได้กระชับความสัมพันธ์ไม่ใช่กับแค่รุ่นเดียวกันเท่านั้นยังได้รู้จักพี่ๆ รุ่นอื่นๆ อีกด้วย
6.คณะนี้ถือว่าเป็นคณะที่อยู่ใกล้จามจุรีสแควร์ มากที่สุดดดด!!!!!! ดังนั้นไม่ต้องกลัวขาดแคลนอาหารเลยเพราะสามารถเดินไปตากแอร์ กินข้าวเที่ยงได้สบายๆ นอกจากนี้ยังใกล้ MRT สามย่านอีกด้วย เดินทางสะดวกมากๆ 
7.หากไม่อยากกินอาหารที่จามจุรีแสควร์สามย่านก็อยู่ใกล้เพียงแค่เอื้อมมือ เดินลอดอุโมงค์ไปนิดเดียวก็จะถึงสามย่านแล้ว รับรองอาหารของกินเพียบ

ทำเรียงข้อ VS เลือกข้อที่ทำได้

ทำเรียงข้อดีหรือไม่ดี?
ขั้นแรกเราควรประเมินศักยภาพตนเองก่อนว่าข้อสอบชุดนั้นยากเกินไปสำหรับเรามั้ย เช่นถ้าเป็น PAT1 ที่ยากมากๆ การทำเรียงข้อไม่ดีแน่นอนเราควรเลือกข้อให้เก็บคะแนนที่ตัวเองต้องการก็พอ แต่ถ้าหากข้อสอบเป็น speed test เช่น คณิตศาสตร์วิชาสามัญ การทำเรียงข้ออาจไม่มีข้อเสียมากนักเพราะเราก็ควรได้อ่านข้อสอบทั้งชุดอยู่แล้ว
วิธีหนึ่งที่ดีมากๆเลยในการที่จะรู้ว่าเราเหมาะกับแบบไหนคือ การลองทำข้อสอบเก่าถ้าลองทำเรียงข้อแล้ว work ก็ทำแบบนั้นต่อถ้าไม่ work ก็ต้องฝึกเลือกข้อทำแล้วล่ะ จากประสบการณ์ส่วนตัว การเลือกข้อทำเหมาะกับตัวแอดมินมากกว่าเพราะจะใช้เวลาคุ้มกว่ามากๆ ครับ

สรุป
การทำเรียงข้อ 
ข้อดี 1. ไม่ต้องเลือกข้อเอง 2. ทำไม่ได้ก็ข้ามได้
ข้อเสีย 1. อาจไม่ได้เห็นข้อหลังๆ 2. ต้องเลือกที่จะข้ามดีๆ
การเลือกข้อทำ
ข้อดี 1. ได้คะแนนในข้อที่ตัวเองมั่นใจ 2. ใช้เวลาคุ้ม
ข้อเสีย 1. ต้องใช้ความสามารถในการเลือกข้อ 2. เลือกผิดยิ่งเสียเวลา