เม็ดเลือดขาว

สาระน่ารู้!!!!!

เซลล์เม็ดเลือดขาวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 
1.แกรนูโลไซต์ (granulocyte) มีแกรนูลที่ย้อมติดสีได้
2.อะแกรนูโลไซต์ (agranulocyte) มีแกรนูลแต่ “ไม่สามารถย้อมติดสีได้”

ระบบย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง!!!!

หลอดอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องประกอบไปด้วย 3 ส่วน 
1.rumen ส่วนนี้จะมีแบคทีเรียนและโปรโทซัวอาศัยอยู่ โดยมีความสัมพันธ์แบบ mutualism ซึ่งจะช่วยสร้างกรดอะมิโน กรดไขมัน วิตามิน B12 และเอนไซม์ cellulase ย่อย cellulose 
2.reticulum และ 3.omasum ช่วยบดและผสมอาหาร 
ส่วน abomasum คือ กระเพาะอาหารที่แท้จริง สามารถสร้างน้ำย่อยได้

“โมล” คืออะไร?

จุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง คือ เปลี่ยนทุกอย่างให้เป็น “โมล”
ปริมาณสารสัมพันธ์เป็นบทคำนวณที่ใหญ่และออกเยอะมากๆ ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนสิ่งที่โจทย์ให้เป็นโมลได้เสมอ วิธีการมีหลักๆ 3 แบบ คือ
1. กรัม / มวลโมเลกุล = โมล
2. จำนวนอนุภาค / เลขอาโวกาโดร = โมล
3. ปริมาตร(ที่ STP) / 22.4 = โมล
เช่น ถ้าโจทย์ให้มีสาร x กรัม และถามหาจำนวนอนุภาค
เราต้องเอา x กรัม / มวลโมเลกุล จะได้เป็น โมล
และเอา โมล x เลขอาโวกาโดร จะได้เป็นจำนวนอนุภาค

พร้อมจะฝึกเพิ่มเติมหรือยัง? อ่านสรุปจุดผิดทั้งหมดและฝึกทำโจทย์จากหนังสือของเรา!

สั่งซื้อหนังสือ

5 สิ่งที่ผิดบ่อยในข้อสอบวิชาเคมี

โดยโจทย์แต่ละข้อแต่ละส่วนก็มักจะมีลูกเล่นหลอกล่อให้เรามึนงงอยู่เสมอ ในครั้งนี้พี่จึงมาพร้อมกับ 6 สิ่งที่ผิดบ่อยในข้อสอบวิชาเคมี เพื่อให้น้อง ๆ รู้ทันและเตรียมตัวรับมือกับข้อสอบเหล่านั้นได้อย่างไม่มีปัญหาและเก็บคะแนนได้เป็นกอบเป็นกำ อย่ารอช้า มีอะไรบ้างไปดูกันนน! 

1. “ตอบไม่ตรงคำถามที่โจทย์ถาม”
ในวิชาเคมีมักจะมีโจทย์ที่บรรยายยาว
ๆ มาหลอกล่อทำให้เราสับสน ว่าจริงๆ แล้วโจทย์จะถามอะไรกันแน่
และด้วยความเคยชินจะทำให้เรารีบตอบคำตอบที่มีอยู่ในตัวเลือกที่ให้มา
ซึ่งคำตอบนั้นเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ตอบคำถามที่โจทย์ถาม ทำข้อสอบครั้งหน้าก็อ่านดีๆ นะครับน้อง ๆ ว่าโจทย์เค้าถามอะไร
ต้องการคำตอบอะไรจากเรา จะได้ไม่พลาดเสียคะแนนฟรีๆ!

2. “ลืมดุลสมการ หรือดุลสมการผิด”
ถ้าเราเห็นสมการเคมีที่ไม่มีเลขดุลข้างหน้าซักตัว
ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าโจทย์ข้อนั้น ยังไม่ได้ดุลสมการ อย่าลืมดุลด้วยนะ
อย่าลืมดูปริมาณสารแต่ละตัวที่ถูกใช้ไป หรือเกิดขึ้น มีไม่เหมือนเดิม เพราะฉะนั้น
ทบทวนขั้นตอนการดุลสมการดี ๆ ทำจำนวนอะตอมของธาตุต่าง ๆ
ให้เท่ากันโดยไล่จากโมเลกุลใหญ่ที่สุดไปโมเลกุลที่เล็กลงตามลำดับ
แล้วจึงตามด้วยธาตุอิสระ (ถ้ามี) และอาจทำให้จำนวนอะตอมซ้ายขวาเป็นเลขคู่เพื่อความสะดวกในการดุล
หากรู้แบบนี้แล้วและทบทวนกันมาดี ๆ การดุลสมการก็ไม่ยาก จริงมั้ยครับน้องๆ!

3. “จำตารางธาตุ” ดูหมู่และคาบผิด ซึ่งจะนำไปสู่การแทนเลข oxidation ผิด เขียนสารประกอบผิด รวมถึงสมการเคมีซึ่งเป็นขั้นเริ่มต้นของโจทย์คำนวณผิดไปด้วย แต่การจำตารางธาตุก็ถือเป็นจุดเริ่มต้น ถ้าพลาดตั้งแต่ต้นก็อาจจะผิดไปทั้งหมดเลยก็ได้ อย่าลืมทบทวนพื้นฐานกันด้วยนะครับ!

4. “อ่านข้อมูลที่ได้จากกราฟผิด”
เรื่องนี้น้องๆก็ผิดกันบ่อยตัวอย่างเช่น อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เรื่อง activation
energy คือแค่ส่วนที่ขึ้นถึงยอดภูเขา
หรือ กราฟของกฎของแก๊สอุดมคติ กฎของ Boyle, กฎของ Charles,
กฎของ Gay-Lussac
รูปกราฟไม่เหมือนกัน
และ กฎรวมแก๊ส PV=nRT ทบทวนกฎเหล่านี้ให้ดี แยกให้ถูกต้อง
เพื่อจะได้อ่านข้อมูลได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง เก็บคะแนนกันไปเต็มๆ!

 

5. “ถูกทุกข้อ อาจไม่ใช่คำตอบ” ตัวเลือกถูกทุกข้อ
อาจไม่ใช่คำตอบที่น่าตอบเสมอไป
เพราะว่าบางครั้ง คนออกข้อสอบ อาจจะออกตัวเลือกที่มีความขัดแย้งกันในตัวเองอยู่แล้ว
ทำให้คำตอบถูกทุกข้อ ไม่มีทางเป็นไปได้ อย่าพึ่งมึนกับตัวเลือกหลาย ๆ ข้อที่ดูเหมือนจะถูกไปซะหมดลองตั้งสมาธิ
อ่านโจทย์ดี ๆ แล้วจะเจอว่า ตัวเลือกบางข้อเนี่ย เอามาหลอกกันชัดๆ

พร้อมจะฝึกเพิ่มเติมหรือยัง? อ่านสรุปจุดผิดทั้งหมดและฝึกทำโจทย์จากหนังสือของเรา!

สั่งซื้อหนังสือ